ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้ชุมชนท่าข้าม

รฟ.บางปะกงร่วมเปิดแหล่งเรียนรู้ชุมชนท่าข้าม

ในอดีตจากปัญหาสภาวะโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมของโลก ส่งผลกระทบความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำซึ่งเป็นอาหารของโลก ทั้งป่าชายเลน ที่ลุ่มแม่น้ำ และพื้นที่ทะเลรอบบริเวณปากอ่าว โดยเฉพาะสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ปลาอีกง ซึ่งเป็นปลาสัญญลักษณ์ของแม่น้ำบางปะกง เพราะป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ายิ่งต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล เป็นแหล่งที่อยู่และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ชุมชนได้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าชายเลนให้คงอยู่และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติเพื่อให้นักเรียนและประชาชนชนทั่วไปได้เรียนรู้เห็นความสำคัญและอนุรักษ์ป่าชายเลนให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่นตลอดไป เดิมแหล่งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำบางปะกง โดยเฉพาะที่หมู่ ๗ ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งที่มีปูแสมชุกชุมมาก แต่ในปัจจุบันได้มีการจับปูแสมอย่างผิดวิธี ประกอบกับระบบนิเวศฯเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปูแสมลดน้อยลงอย่างมาก ผู้นำชุมชนหมู่ ๗ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปูแสม ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจประจำท้องถิ่นชนิดหนึ่ง จึงได้รวมตัวเพื่อขอดำเนินการ ทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปูแสมร่วมกับโรงไฟฟ้าบางปะกง โดยทำหนังสือ ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑ พร้อมรายชื่อชาวบ้าน จำนวน ๑๐๐ คน ถึงผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า ๓ (นายเจษฎา เรืองทรัพย์เอนก) ซี่งดำรงค์ตำแหน่ง ชฟฟ๓. ในขณะนั้น เพื่อขอใช้พื้นที่ว่างเปล่าของ กฟผ. ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรม และเหมาะสมในการอนุรักษ์เพาะขยายพันธุ์ปูแสม ทางหน่วยงานประชาสัมพันธ์จึงทำบันทึกลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ขออนุมัติวงเงินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดทำโครงการวิจัยในการสร้างชุมชนเข้มแข็งต้นแบบ ร่วมกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์ มาเป็นพันธมิตรในการวิจัย และในวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๑ ชฟฟ๓. ได้มีคำสั่งที่ ค.๕๑/๒๕๕๑ เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานโครงการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูแสม พร้อมอนุมัติงบประมาณสนับสนุนดำเนินการ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการฯ ช่วงแรก เดือนกันยายน ๒๕๕๑ ปรับพื้นที่เป็นบ่อทดลองขยายพันธุ์ปูแสมและศึกษาวงจรชีวิตปูแสม ช่วงที่ ๒ ตุลาคม-พฤษจิกายน ๒๕๕๑ ขยายผลและปรับพื้นที่เพื่อกำหนดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ ช่วงที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป เป็นศูนย์เรียนรู้ให้ประชาชนนำผลไปขยายต่อ ต่อมาในปี ๒๕๕๒ โรงไฟฟ้าบางปะกง ได้จัดทำโครงการสื่อสารสารธารณะ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วน ร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน จึงได้สำรวจ วิเคราะห์แบบมีส่วนร่วมกับ ประชาชน และจัดทำเป็นการการดำเนินงานโครงการชุมชนต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้ จำนวน ๑ แห่ง ประกอบด้วยโครงการพัฒนาและเพิมพูนขีดความสามารถขบุคคลระยะที่ ๓ ซึ่งรับผิดชอบโดยมูลนิธิกองทุนไทย ได้กำหนดให้มีการฝึกอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และชุมชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนพื้นที่ละ ๗ คน (กฟผ. ๔ คน ชุมชน ๓ ) ของแต่ละเขตเขื่อน เพื่อมาจัดทำโครงการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยส่วนหนึ่งของ หลักสูตรได้มีการพาไปศึกษาดูงาน ณ บ้านนาอิสาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ ๘ - ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ และจัดตั้งคณะทำงานตามคำสั่ง ชฟฟ๓. ที่ ค.๒๐/๒๕๕๒ แต่งตั้งคณะทำงานโครงชุมชน ต้นแบบ ประกอบด้วย ๕ ฐานกิจกรรม คือ ๑. ฐานผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนใช้เอง จัดอบรมให้ความรู้การผลิตน้ำยาเอนกประสงค์กับประชาชน ๒. ฐานปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร จัดอบรมให้ความรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้กับประชาชน ๓. ฐานอนุรักษ์พันธุ์ปูแสม รวบรวมองค์ความรู้ร่วมกับชุมชนและทดลองปฏิบัติ ๔. ฐานสมุนไพรป่าชายเลน รวบรวมองค์ความรุ้ร่วมกับชุมชน ๕. ฐานผลิตภัณฑ์จากต้นจาก รวบรวมองค์ความรุ้ร่วมกับชุมชน