วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของโครงการ
• เพื่อเป็นที่ศึกษาดินในท้องถิ่น และนำมาปรับปรุงให้สามารถทำการเกษตรได้
• เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟู่ระบบนิเวศน์ของป่าชายเลนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
• เพื่อส่งเสริมการสำวัสดุทางธรรมชาติมาผสมกับจุลินทรีย์ อี เอ็ม
• ส่งเสริมให้ชุมชนผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้ในชุมชนด้วยตนเอง เป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
• เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ Best Practice ที่สามารถขยายผล หรือต่อยอดเป็นโครงการนำร่องและสามารถยกระดับเป็นโครงการของ กฟผ. ได้ Big Impact ในปี ๒๕๕๓ ดำเนินโครงการชุมชนต้นแบบ ระยะที่ ๓ ตามคำสั่ง ชฟฟ๓. ทึ่ ค.๓๕/๕๓
- พัฒนาชุมชนต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนตำบลท่าข้าม
- ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงอุตสาหกรรม เข้ารับรางวัลชมเชย ชุมชนรักแม่....รักษ์แม่น้ำ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๓
- พัฒนาเพิ่มฐานอนุรักพันธ์ปลาอีกง ซึ่งเป็นปลาสัญญลักษณ์ของแม่น้ำบางปะกง โดยพาชุมชนไปดูการเพาะเลี้ยงปลาอีกง ที่ศูนย์เพาะพันปลาอีกงที่จังหวัดเพชรบุรี และซื้อพันธุ์นำมาปล่อยในชุมชนต้นแบบ
- พัฒนาเป็นฐานภูมิปัญญาพื้นบ้าน การทำอาหารจากสมุนไพรพื้นบ้าน เช่นต้นชะคราม ซึ่งเป็นสมุนไพรป่าชายเลนและมีฤทธิ์ในการต้านโรคมะเร็ง นำมาทำเป็นแกงส้ม จิ้มน้ำพริกเผา ดอกจากต้มจิ้มน้ำพริก ข้าวต้มมัดห่อด้วยใบจากอ่อน น้ำสมุนไพรทำจากต้นขลู่ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยาแก้โรคริดสีดวงทวาร แก้โรคมะเร็ง ภายใต้ชื่อน้ำสมุนไพรไตรวารี รวมทั้งการทำขนมจากสูตรโบราณ
- พิธีเปิดแหล่งเรียนรู้ชุมชนตำบลท่าข้าม เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ โดยมีนายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา (มีการจัดพิธีแต่งงานปูแสมระหว่าง นายประจักษ์ คลองตำหรุ และนางสาววนิดา ท่าข้าม โดยคุณคำรณ หว่างวังศรี มาถ่ายทำรายการด้วยลำแข้งและออกอากาศทางช่อง ๗ สี)
- มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปเข้าศึกษาดูงาน และจัดทำกิจกรรมเป็นจำนวน (ตามภาพถ่ายในภาคผนวกหน้า ในปี ๒๕๕๔ ดำเนินโครงการชุมชนต้นแบบ ระยะที่ ๔ ตามคำสั่ง ชฟฟ๓. ที่ ค.๒๐/๒๕๕๔ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ป่าชายเลนของชุมชน เพราะป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ายิ่งต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล เป็นแหล่งที่อยู่และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ชุมชนได้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าชายเลนให้คงอยู่และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติเพื่อให้นักเรียนและประชาชนชนทั่วไปได้เรียนรู้เห็นความสำคัญและอนุรักษ์ป่าชายเลนให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่นตลอดไป ต่อมาทางโรงเรียนวัดบางแสมเห็นว่าชุมชนมีการอนุรักษ์ป่าชายเลน จึงขอนำนักเรียนเข้ามาใช้พื้นเป็นสถานที่เรียนนอกห้องเรียน ตามนโยบายของกระทรวงการศึกษา โรงไฟฟ้าบางปะกงจึงดำเนินการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน โรงไฟฟ้าบางปะกงและโรงเรียน โดยให้โรงเรียนวัดบางแสมเป็นโรงเรียนต้นแบบ พร้อมเรียนเชิญคณะครูโรงเรียนบ้านบางแสม โรงเรียนวัดบางแสม โรงเรียนวัดเขาดิน เข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำหลักสูตรเรียนรู้ท้องถิ่นตำบลท่าข้าม เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๔ เพื่อกำหนดกรอบการทำหลักสูตร และเนื้อหาที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยให้โรงเรียนวัดเขาดินและโรงเรียนบ้านบางแสม จัดทำหลักสูตร ชั้นประถม ๔ – ๖ โรงเรียนวัดบางแสม จัดทำหลักสูตรชั้นอนุบาล ๑-๒ หลักสูตรชั้นประถม ๑ – ๓ และเดินทางไปจัดทำหลักสูตรทั้งถิ่นภายใต้ชื่อ หลักสูตร “รักษ์ป่าชายเลน” เมื่อวันที่ ๒๔ -๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ ณ เชื่อนสิริกิตติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีโรงเรียนคลองพานทอง โรงเรียนวัดบน “ประจงอนุสรณ์” โรงเรียนวัดเขาดิน เข้าร่วมจัดทำหลักสูตร และใช้ชุมชนต้นแบบฯ หมุ่ ๗ ตำบลท่าข้าม
- เป็นพื้นที่ศึกษาดูงานสมุนไพรป่าชายเลน และพันธุ์สัตว์น้ำประจำท้องถิ่น
- จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรท้องถิ่น รักษ์ป่าชายเลน ประกอบด้วย
• เรื่องพืชและสัตว์ สมุนไพร ในป่าชายเลน
• เรื่องพืชสมุนไพรป่าชายเลน
• เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น การประดิษฐ์ และการแปรรูป
• เรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน
• เรื่องระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ในการไปอบรมครั้งนี้ชุมชนและโรงเรียนที่เข้าร่วมทำหลักสูตรมีความเห็นร่วมกันว่าควรพัฒนาชุมชน ต้นแบบฯ ให้มีทางเดินเพื่อศึกษาธรรมชาติและสมุนไพรในป่าชายเลนอย่างใกล้ชิด ทางผู้นำชุมชนนำได้หนังสือแจ้งความประสงค์ขอสนับสนุนงบประมาณ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดทำ
- ทางเดินชมธรรมชาติและสมุนไพรป่าชายเลน ระยะทาง ๒๕๐ เมตร
- จัดทำศาลาเอนกประสงค์ ขนาด กว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร
- จัดทำซุ้มให้ความรู้
- จัดทำสื่อสมุนไพร

การดำเนินกิจกรรมในปัจจุบันที่สำคัญ ดังนี้
๑ กิจกรรมหลักสูตรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การศึกษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลน การศึกษาวงจรชีวิตปูแสม และการศึกษาเพาะพันธุ์ปลาอีกง
๒. กิจกรรมหลักสูตรสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ได้แก่ การฝึกหัดเย็บตับจาก ใช้มุงหลังคาบ้าน การฝึกอบรมทำขนมจาก และการฝึกอบรมทำอาหารเมนูสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น๓ . กิจกรรมการหมักน้ำ EM และการทำน้ำยาอเนกประสงค์ ลดการใช้สารเคมีในชุมชน
๓. ไปสอนการทำน้ำยาเอนกประสงค์ตามชุมชนที่มีหนังสือร้องขอ เพื่อเป็นการลดรายจ่ายและเพิ่ม รายได้ ให้กับชุมชน ในพื้นที่รอบ ๆ โรงไฟฟ้า